วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

IPv6 Packet Format

- สิ่งที่ควรจะรู้เกี่ยวกับ IPv6 เป็นอย่างแรกก็คือ packet format ของ IPv6 ครับ.. เพราะ packet format ก็คือ data structure ที่บอกว่า IPv6 สามารถทำอะไรได้บ้าง.. IPv6 packet ประกอบด้วย header, extended header, แล้วก็ payload ครับ .. Header ของ IPv6 ออกแบบมาให้มีขนาดคงที่และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย header จะประกอบด้วย field จำเป็นต้องใช้ในการ process packet ที่ทุกๆ router เท่านั้น พวก options ต่างๆ ที่อาจจะ process เฉพาะที่ต้น/ปลายทาง หรือ ที่ router บางตัวจะแยกออกมาไว้ที่ extended header แทน .. รายละเอียดของ extended header เดี๋ยวว่ากันในหัวข้อ extended header ละกันนะครับ.. ตอนนี้เรามาดูที่ header ของ IPv6 กันก่อน..




- จากรูปของ packet format จะเห็นว่า header ของ IPv6 ดู simple มากเมื่อเทียบกับ header ของ IPv4 เหตุผลก็เป็นไปตามนี้:
> Version ยังคงต้องมีเหมือนเดิม เพื่อใช้บอกว่า packet นี้เป็น IP version ไหน.. กรณีของ IPv6 ค่าของ version ก็จะเป็น 6
> Header length ถูกตัดออกไป เพราะขนาดของมันจะเป็น 40 octets เสมอ การกำหนดให้เป็น fixed length header ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผล packet ดีขึ้น
> Type of Service ของ IPv4 ถูกแทนที่ด้วย Traffic Class ซึ่งใช้ระบุว่า packet นี้อยู่ใน class ไหนและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่ เพื่อที่ router จะได้จัด schedule ในการส่ง packet ให้เหมาะสม
> Flow label ใช้ระบุ end-to-end traffic flow ระหว่างต้นทางกับปลายทาง ใน application นึงสามารถสร้าง flow ได้หลายๆ อัน อย่างเช่น video conference เราสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้ แม้ว่าจะเปิด socket ในการทำงานเพียง socket เดียว
> Total Length แทนที่ด้วย Payload length เพื่อระบุขนาดของ payload ในหน่วย octet (byte) ดังนั้นขนาดของ payload สูงสุดจะเป็น 65535 octets
> Identification, Flag, Segmentation, Protocol, Options, และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ในส่วนของ extended header เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้อง process ในทุก router
> Hop Limit ถูกใช้แทน Time-To-Live ของ IPv4 ... ตาม IPv4 specification TTL จะเก็บเป็นเวลาจริงๆ หน่วยเป็นวินาที โดยระบุว่าแต่ละ router ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที แม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผล packet น้อยกว่านั้น.. ในความเป็นจริงการประมวลผล packet เร็วมากครับ เพียงแค่ไม่กี่ usec เท่านั้น.. router ใหม่ๆ อาจจะทำได้น้อยกว่า 1 usec เสียอีก..router จึงลด TTL ครั้งละ 1 เสมอ .. TTL ก็เลยกลายเป็น hop count แทนที่จะเป็นเวลาจริงๆ ซึ่งก็เหมาะสมและง่ายต่อการประมวลผล... ใน IPv6 จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า Hop limit เพื่อให้ตรงกับความหมายจริงๆ ของมัน
> Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็น header ประเภทไหน
> Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้ ..


Extended Headers

- มาถึง extended header กันบ้าง .. จากเหตุผลข้างบนที่ย้ายหลายๆ field มาเป็น extended header ทำให้ IPv6 มี extended header หลายๆ แบบเลยครับ แต่ละแบบก็เอาไว้ใช้ทำงานเฉพาะอย่างเพียงงานเดียว ..ใน 1 packet เราสามารถใช้ extended header ได้มากกว่า 1 อัน ดังนั้น เราจึงขอ service จาก IPv6 ได้มากกว่า 1 อย่าง .. IPv6 specification ล่าสุดกำหนดให้มี extended header อยู่ 6 แบบ ทุกแบบจะขึ้นต้นด้วย field "Next Header" เสมอ เพื่อระบุว่า extended header อันถัดเป็นชนิดไหน..

> Hop-by-Hop Options: เป็น option ที่ระบุให้ทุก router ที่อยู่ในเส้นทางระหว่างต้น/ปลายทางจะต้องทำตาม ตอนนี้ใน IPv6 specification มี option อยู่เพียงสองอัน คือ Jumbogram options สำหรับให้ IPv6 packet มีขนาดใหญ่กว่า 65535 octets ได้ ขนาดของ jumbogram สูงสุดคือ 2^32 octets (4,294,967,295 octets) เชียวล่ะครับ..อีก option นึงเอาไว้ทำ padding
> Routing: ใช้สำหรับทำ source routing ครับ.. คือต้นทางสามารถระบุเส้นทางที่ packet ต้องผ่านได้ โดย list เป็น router ที่ต้องส่ง packet ผ่านไปจนถึงปลายทาง.. Source routing ของ IPv6 สามารถระบุแต่ละ router ใน list ได้เลยว่าเป็น strict source routing หรือ loose source routing (หมายความว่าเราระบุ ทั้ง strict และ loose source routing ผสมกันได้) ซึ่งยืดหยุ่นมากกว่า source routing ของ IPv4 ที่จะบังคับว่า router ใน list ต้องเป็น strict หรือไม่ก็เป็น loose source routing ทั้งหมด
> Fragment: ใช้สำหรับทำ fragmentation เหมือนของ IPv4 แต่ที่ต่างกันก็คือ IPv6 จะมี function สำหรับหา path MTU ไว้อยู่แล้วเพื่อจะได้รู้ว่าขนาด Maximum Transfer Unit ที่เหมาะสมของ path นั้นๆ มีค่าเป็นเท่าไหร่ ดังนั้นการทำ fragmentation จึงทำที่ source node เท่านั้น (IPv4 จะทำ fragmentation ทั้งที่ source node และ router)> Destination Options: ใช้งานคล้ายๆ กับ Hop-by-Hop option ครับ แต่จะเป็น option สำหรับปลายทางเท่านั้น.. ตอนนี้มีเพียง option เดียว คือเอาไว้ทำ padding
> Authentication: อันนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้ว..ใช้สำหรับทำ authentication รายละเอียดจะอยู่ในเรื่อง IP Security (IPSEC) เอาไว้ว่างๆ จะเขียนมาให้อ่านครับ ถ้าเอามารวมกับ IPv6 เดี๋ยวจะยาวเกินไป
> Encapsulated Security Payload: ใช้สำหรับทำ encryption และ cryptography อื่นๆ รายละเอียดก็จะอยู่ใน IP Security เหมือนกัน..

- Extended header มีอย่างมากไม่เกินแบบละ 1 อัน ยกเว้น destination option header ซึ่งอาจจะมีได้ 2 อัน..อืมม..ทีนี้พอมี extended header หลายๆ แบบอย่างนี้ก็ต้องมีลำดับการเรียง extended header ให้ถูกต้องด้วย...ถ้าใส่กันเต็มๆ ก็จะเรียงลำดับตามนี้:
1. IPv6 header
2. Hop-by-Hop Options header
3. Destination Options header
4. Routing header
5. Fragment header
6. Authentication header
7. Encapsulating Security Payload header8. Destination Options header9. Upper-layer header (e.g., TCP, UDP)


- IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 header และใช้การแจ้งเป็น Streamline header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด

- IPv4 header กับ IPv6 header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง Ipv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า


รูปที่ 1 IP Header


- เฮดเดอร์ของ IP โดยปกติจะมีขนาด 20 bytes ยกเว้นในกรณีที่มีการเพิ่ม option บางอย่าง ฟิลด์ของเฮดเดอร์ IP จะมีความหมายดังนี้

Version : หมายเลขเวอร์ชันของโปรโตคอล ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6)
Header Length : ความยาวของเฮดเดอร์ โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit)
Type of Service (TOS) : ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเราเตอร์ในการตัดสินใจเลือกการเราต์ข้อมูลในแต่ละดาต้า แกรม แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีการนำไปใช้งานแล้ว
Length : ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวนไบต์ของดาต้าแกรม ซึ่งด้วยขนาด 16 บิตของฟิลด์ จะหมายถึงความยาวสูงสุดของดาต้าแกรม คือ 65535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดในลิงค์เลเยอร์ และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีขนาดของดาต้าแกรมไม่เกิน 512 byte
Identification : เป็นหมายเลขของดาต้าแกรมในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรมเมื่อข้อมูลส่งถึง ปลายทางจะนำข้อมูลที่มี identification เดียวกันมารวมกัน
Flag : ใช้ในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรม
Fragment offset : ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในดาต้าแกรมที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง
Time to live (TTL) : กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ดาต้าแกรมจะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ค) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของ TTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และเราเตอร์สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล
Protocol : ระบุโปรโตคอลที่ส่งในดาต้าแกรม เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP
Header checksum : ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเฮดเดอร์
Source IP address : หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล
Destination IP address : หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล
Data : ข้อมูลจากโปรโตคอลระดับบน

การใช้งานระหว่าง IPv4 และ IPv6

- การปรับเปลี่ยนเครือข่ายจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 สามารถทำได้ 3 แนวทางคือ การทำ Dual Stacks , การใช้ Tunneling และการทำ Header Translation

1. การใช้สแต็กคู่ ( Dual Stacks ) คือ การทำให้โฮสต์สามารถใช้งานได้กับ IP address ทั้ง 2 version โดยจะพิจารณาว่าจะส่งข้อมูลไปโดยใช้ IP address version ไหนจากการส่ง packet ไปสอบถาม DNS ก่อนแล้ว จึงส่งข้อมูลตาม version ที่ DNS ตอบกลับมา ถ้า DNS ส่ง packet กลับมาเป็น IPv6 แสดงว่าโฮสต์ต้นทางจะต้องส่ง Packet เป็น IPv6 ข้อมูลจะสามารถส่งถึงโฮสต์ปลายทางได้



2. การใช้อุโมงค์เครือข่าย ( Tunneling) คือ วิธีการที่โฮสต์ต้นทางและโฮสต์ปลายทางใช้ IPv6 ทั้งคู่ แต่การสื่อสารระหว่าง 2 โฮสต์นี้ต้องกระทำผ่าน เครือข่าย IPv4 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ encapsulate IPv6 ให้เป็น IPv4 จึงจะสามารถส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่าย IPv4 ได้ หลังจากนั้นโฮสต์ปลายทางจึงจะทำการดีแคปซูเลต IPv4 ให้เป็น IPv6 ตามเดิม


3. การแปลงเฮดเดอร์ (Header Translation) คือ วิธีการนี้ใช้เมื่ออินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนเป็น IPv6 แล้วแต่ยังมีบางเครือข่ายที่ยังเป็น IPv4 อยู่จึงจำเป็นที่จะต้องทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ Header ทั้งหมด โดยใช้ตัวแปลงเฮดเดอร์ ซึ่งแปลงเฮดเดอร์ IPv6 ให้เป็น IPv4

รูป : แสดงการใช้งาน Header Translation เมื่อเครือข่ายส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็น IPv6 แล้ว



รูป : แสดงขั้นตอนการทำงานของ Header Translation


• เทคนิคการทำ Translation เป็นวิธีที่ใช้กับการสื่อสารข้ามเครือข่าย เช่น โหนดจากเครือข่าย IPv4 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ในเครือข่าย IPv6 หรือ โหนดที่เป็น IPv6 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ที่เป็น IPv4

• หรือการทำ Translation คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปมาระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ IPv4 และ IPv6• เป็นกรณีที่ต่างไปจากการใช้งาน Dual stacks และ Tunnel

• การแปลงข้อมูลนี้สามารถทำได้หลายระดับ เช่น Network layer, Transport layer, หรือ Application layer

• ไม่ว่าจะทำการแปลงข้อมูลที่ระดับไหน องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นคือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงหมายเลข IP address หรือ Address translation ซึ่งการแปลงหมายเลขสามารถทำได้โดยการจัดเก็บคู่หมายเลข IPv4 และ IPv6 address ทุกคู่ในเครือข่าย เราเรียกวิธีนี้ว่า Stateful address translation หรือจะทำการแปลงแบบอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Stateless address translator ก็ได้


จุดเด่นของ IPv6 ที่เหนือกว่า IPv4

1. รูปแบบ Header ใหม่ IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 Header และใช้การแจ้ง เป็น Streamline Header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด IPv4 Header กับ IPv6 Header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง IPv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า

2. มีขนาด Address มากขึ้น IPv6 มีการกำหนดตำแหน่งที่อยู่ผู้ติดต่อ และผู้รับการ ติดต่อเป็น 128 บิต ซึ่งมีจำนวนที่อยู่ถึง 3.4x1038 ทำให้มีการออกแบบเป็นหลายลำดับชั้น และ จองที่อยู่สำหรับ Internet Backbone เพื่อแยกจากเครือข่ายในองค์กรซึ่งเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ ใช้สำหรับตำแหน่งโฮสต์ และมีที่อยู่จำนวนมาที่ใช้ในอนาคต ทำให้อ้างจะไม่จำเป็นที่ต้องใช้ NATs ในเครือข่ายอนาคตก็ได้

3. มีการกำหนดที่อยู่เป็นลำดับชั้น และกำหนดโครงสร้างการหาเส้นทางได้IPv6 Global Addresses ใช้บน IPv6 สามารถที่สร้างและกำหนดลำดับชั้นได้อย่างมีประสิทธิสำหรับการหา เส้นทาง และสิ่งที่เกิดขึ้นหลายลำดับในผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต บน IPv6 Internet, Backbone Routers ทำให้ขนาดข้อมูลใน Routing Table เล็กลง

4. ไม่จำเป็นที่ต้องแจ้งที่อยู่ก่อน หรือกำหนดที่อยู่ไว้ก่อนได้เป็นการกำหนดค่าโฮสต์ ซึ่ง IPv6 รองรับทั้งกำหนดค่าที่แจ้งไว้ก่อน เช่นการใช้ DHCP Server และการกำหนดค่าที่อยู่โดย ไม่แจ้งไว้ก่อนได้ (Stateless) ในกรณีที่ไม่มี DHCP Server อยู่ เครื่องโฮสต์บนลิงค์นี้จะ กำหนดค่าอัตโนมัติในตัวเองด้วย IPv6 addresses สำหรับลิงค์ (Link-Local Addresses) และ การกำหนดค่าที่อยู่โดยนำมาจากค่าประกาศด้านหน้าของ Routers แม้ว่าไม่มี Router โฮสต์ก็ สามารถที่ลิงค์ได้โดยกำหนดค่าที่อยู่ในลิงค์ท้องถิ่นเอง ด้วย Link-Local Addresses และการ สื่อสารโดยไม่ต้องกำหนดค่าที่อยู่ด้วยมือ

5. ฝังความปลอดภัยไว้ภายในรองรับ IPSec บนลำดับชั้นของ IPv6 ซึ่งรองรับเป็นทาง แก้ปัญหามาตรฐาน ซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างเครื่องมีความปลอดภัย6. รองรับบริการ Quality of Service (QoS) มีฟิลด์ใหม่ใน IPv6 Header ที่กำหนด สำหรับรองรับการระบุ ซึ่งระบุการจราจร โดยใช้ฟิลด์ Flow Label ใน IPv6 Header อนุญาตให้ Router ทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล การไหลที่เป็นชุดของแพ็ตเก็ตระหว่างต้นทาง ไปยัง ปลายทาง โดยรองรับ QoS ทำให้ง่ายต่อการติดต่อให้บรรลุเป้าหมายเมื่อมี Packet Payload ถูกเข้ารหัสด้วย IPSec7. มีการติดตั้งกับเครื่องข้างเคียง Neighbor Discovery Protocol สำหรับ IPv6 เป็นชุด Internet Control Message Protocol สำหรับ IPv6 (ICMPv6) ซึ่งจัดการโหนดเพื่อนบ้าน

* IPv6 ใช้ 128 bits ในการระบุหมายเลข IP ในขณะที่ IPv4 มีพื้นที่ให้ระบุเพียง 32 Bits ทำให้ IPv6 สามารถรองรับจำนวนหมายเลข IP ได้มากกว่า

* IPv6 มีการกำหนดขนาดของส่วน Header เอาไว้ตายตัว ทำให้ความเร็วในการประมวลผลและการส่องต่อมีประสิทธิภาพขึ้น

* IPv6 มีการออกแบบ Header มาเพื่อช่วยให้การค้นหาเส้นทางมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

* IPv6 ตัดส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลออกไป เพราะหน้าที่สามารถให้ layer ข้างบนทำได้ เป็นการลดภาระงานของ Router ด้วย

* IPv6 สามารถรองรับต่อขนาดของข้อความ (payload) ได้ถึง 4 GiB. ซึ่ง IPv4 รองรับได้แค่ 64 KiB

* ส่วน OS ที่รองรับ ก็มี Linux , Windows XP/ Vista, Mac OS X
ข้อสอบ IPv6 30ข้อ
1. ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของ IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
ก. ตัวเลขสามารถซ้ำกันได้ทุกตัว
ข. สามารถใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างเลขแต่ละหลักได้
ค. ตัวเลขทุกตัวจะต้องไม่ซ้ำกัน
ง. แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่ต่างกัน

2. IP Address มีชื่อเต็มว่า
ก. Internet Protocall Address
ข. Internet Protocol Address
ค. Internat Protocall Address
ง. Internets Protocol Address

3. Internet Protocol version ใดที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
ก. IPv1
ข. IPv2
ค. IPv3
ง. IPv4

4. เหตุใดจึงมีการคิดค้น Internet Protocol version ใหม่ขึ้น
ก. เพราะ IP Address ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
ข. เพราะต้องมีการคิดค้นเวอร์ชันใหม่ทุกๆ 3 ปี
ค. เป็นการลงมติเห็นชอบจากเวทีโลก
ง. ไม่มีข้อใดถูก

5. IPv4 และ IPv6 แตกต่างกันอย่างไร
ก. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 64 บิต
ข. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 32 บิต
ค. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 128 บิต
ง. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 64 บิต

6. ข้อใดผิด
ก. IPv6 ผู้บริหารมีส่วนในการบริหารจัดการงานมากขึ้น
ข. IPv6 ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ค. IPv6 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processi
ง. IPv6 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)

7. เหตุใดประเทศในแถบอเมริกาเหนือจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ IPv6
ก. เพราะสังคมเป็นแบบประชาธิปไตย
ข. เพราะมี IP Address ที่กำหนดขึ้นใช้เองเฉพาะชาวอเมริกัน
ค. เพราะมีรากฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง
ง. เพราะได้รับการจัดสรร IP Address ไปถึง 70% ของ IP Address ที่ใช้ทั่วโลก

8. แนวโน้มการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ IP Address อย่างไร
ก. ทำให้ IP Address มีปริมาณเกินความต้องการ
ข. มีการนำเอา IP Address มาใช้กับเทคโนโลยี ทำให้ต้องการใช้ IP Address มากขึ้น
ค. เทคโนโลยีด้านอื่นจะเข้ามาแทนการใช้ IP Address
ง. การใช้ IP Address ควบคู่กับเทคโนโลยีจะถูกจำกัดในวงแคบ

9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการมี IP Address ที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
ก. สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร
ข. เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ
ค. ทำให้ระบบภายในของอุปกรณ์นั้นๆ เกิดผลเสีย
ง. ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

10. เหตุใดเราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง IPv6
ก. เพราะหาก IPv4 ถูกใช้หมดไป IPv6 เป็นสิ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้
ข. เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
ค. เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจและโอกาสในหลายๆ ด้าน
ง. ถูกต้องทุกข้อ

11.การขอหมายเลข IP Address จะต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค หรือเรียกอีกอย่างว่า
ก. PIT
ข. RIR
ค. LPG
ง. PLI

12.ความจำเป็นในการใช้ IPv6 นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อะไร
ก. mont
ข. IP Address
ค. toryt
ง. fopbfor

13. IPv4 นี้มีที่มาจากเลขฐานสองขนาดกี่บิต
ก. 36 บิต
ข. 32 บิต
ค. 45 บิต
ง. 40 บิต

14.จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4 คืออะไร
ก.ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ข.เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
ค.สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
ง.ถูกทุกข้อ

15. IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็นกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ค. 3 ประเภท
ข. 2 ประเภท ง. 4 ประเภท

16. IPv6 มีขนาดของ address กี่ไบท์
ก. 10 ไบท์
ข. 11 ไบท์
ค. 13 ไบท์
ง. 16 ไบท์

17. การเคลื่อน IPv6 packet จาก segment หนึ่งไปอีก segment หนึ่งมีความง่ายขึ้นด้วยโครงสร้างการค้นหาเส้นทางแบบใด
ก. แบบลำดับชั้น
ข. แบบผสม
ค. แบบต่อเนื่อง
ง. แบบล่าง

18. RIR ที่ได้จัดสรรหมายเลข IPv6 มากที่สุด คือ
ก. RIPL MCC
ข. RIPE NCC
ค. RIPT ACC
ง. RIPG TCC

19. Pv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบแบบแบบใด
ก. แบบอัตโนมัติ
ข. แบบถาวร
ค. แบบชั่วคราว
ง. แบบต่อเนื่อง

20. IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน ใด
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

21.หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ
ก.หน่ายงานจากต่างประเทศ
ข.หน่วยงานภายในประเทศไทย
ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
ง.ถูกทุกข้อ

22.เฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างอะไรบ้าง
ก.ตำแหน่งที่ตัดออก
ข.ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน
ค.ตำแหน่งที่เพิ่ม
ง.ถูกทุกข้อ

23. RIR ย่อมาจาก
ก.(Regional Internet Registrey)
ข.(Regional Internet Registreey)
ค.(Regional Internet Registessy)
ง.(Regional Internet Registry)

24.เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4

25.ข้อใดคือชื่อ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น IPV4
ก.IP Address
ข.IPV1
ค.IPV2
ง.IPV3

26. การใช้งาน IPv4 และ IPv6 ควบคู่กันหรือที่เรียกว่าอะไร
ก. Fual stack
ข. Bual stack
ค. Eual stack
ง. Dual stack

27.IPV6 ถูกเริ่มใช้ที่ไหนก่อน
ก. ทวีปเอเชียและยุโรป
ข. ทวีปอเมริกาเหนือ
ค. ทวีปอเมริกาใต้
ง. ไม่มีข้อถูก

28. IPV6 จะประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนเท่าไร
ก. 128 bit
ข.127 bit
ค.126 bit
ง.125bit

29. ใน IPv6 header อนุญาตให้อะไรทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล
ก.Router
ข.Routerse
ค.Routeredse
ง.Routeree

30. IPv6 เพิ่มอะไร เพื่อที่จะบังคับขนาดของแพ็ตเก็ต IPv6 เท่านั้น
ก. molder
ข. Sracrer
ค. Hear
ง. Headers



เฉลย
1. ค 10. ง 19. ก 28. ก
2. ข 11. ข 20. ค 29. ก
3. ง 12. ข 21. ค 30. ง
4. ก 13. ข 22. ง
5. ค 14. ง 23. ง
6. ก 15. ค 24. ค
7. ง 16. ง 25. ก
8. ข 17. ก 26. ง
9. ค 18. ข 27. ก

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ Bus
1 โครงสร้างข้อมูลแบบใด ถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ก. Bus topology ข. Star topologyค. Ring topologyง. mesh topology
2 โครงสร้างเครือข่ายแบบใด ในการรับส่งข้อมูลจะไม่มีการชนกันชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเลยก. Bus topologyข. Star topologyค. Ring topologyง. mesh topology
3 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว Star topology จะมีจุดศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เรียกว่าก. โฮสต์ (Host)ข. เซิฟเวอร์ (Server)ค. ซอฟแวร์ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
4 โครงสร้างเครือข่ายแบบใด เมื่อ ฮับ( hub)หยุดทำงาน ระบบจะล้มเหลวทั้งระบบทันทีก. Bus topologyข. Star topologyค. Ring topologyง. mesh topology
5 ข้อใดคือ ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตรก. LAN (Local Area Network)ข. MAN (Metropolitan Area Network)ค. WAN (Wide Area Network)ง. ถูกทุกข้อ

1.เฉลย ก. Bus topology พราะ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
2.เฉลย ค. Ring topology เพราะ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
3.เฉลย ง. ถูกทั้ง ก. และ ข. เพราะ ระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology) ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นแลอุปกรณ์ที่เหลือ ระบบนี้เหมาะกับการประมวลผลที่ศูนย์กลางและส่วนหนึ่งทำการประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้ (Client or Work Station) ระบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่เครื่อง Host คือ การสื่อสารทั้งหมดจะต้องถูกส่งผ่านเครื่อง Host ระบบจะล้มเหลวทันทีถ้าเครื่อง Host หยุดทำงาน
4.เฉลย ค. Star topology เพราะ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
5.เฉลย ก. LAN (Local Area Network) เพราะ LAN (Local Area Network)ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ

ข้อสอบ

ข้อสอบ Ethernet
1 การส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps เรียกว่าการส่งข้อมูลแบบใด
ก. Fast Ethernet
ข. Gigabit Ethernet
ค. Ethernet
ง. Hub
เฉลย ข้อ ก. Fast Ethernet
2 LAN แบ่งลักษณะการทำงานได้เป็นกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท
ข. 2 ประเภท
ค. 3 ประเภท
ง. 4 ประเภท
เฉลย ข. 2 ประเภท
3 นักศึกษาคิดว่า สถานศึกษาควรใช้ระบบเครือข่ายแบบใด
ก. FDDI
ข. CDDI
ค. ATM
ง. Ethernet
เฉลย ข้อ ง. Ethernet
4 ปัจจุบันระบบเครือข่ายที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากที่สุดคือ
ก. Fast Ethernet
ข. Gigabit Ethernet
ค. Ethernet
ง. Hub
เฉลย ข้อ ข. Gigabit Ethernet
5 ระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีวงแหวน คือข้อใด
ก. IEEE 802.3
ข. IEEE 802.4
ค. IEEE 802.2
ง. IEEE 802.5
เฉลย ข้อ ง. IEEE 802.5
6 Token-Ring (IEEE 802.5) ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่มีชื่อว่าอะไร
ก. IBM
ข. ISO
ค. CCITT
ง. IEEE
เฉลย ข้อ ก. IBM
7 Hub หรือ Switch เหมื่อนกันอย่างไร
ก. มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเหมื่อนกัน
ข. Hub หรือ Switch ต่างเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ค. มีจำนวนช่องเสียบสาย UTP เท่ากัน
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
เฉลย ข้อ ข. Hub หรือ Switch

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Ethernet

Ethernet

IEEE 802.3: Ethernet Ethernet
นับเป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยี LAN เนื่องจาก LAN ส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดในปัจจุบันใช้ พื้นฐานของเทคโนโลยีนี้ คุณลักษณะเฉพาะในการทำงานของ Ethernet คือการทำงานแบบที่เรียกว่า การเข้าใช้ระบบเครือข่ายโดยวิธีช่วงชิง หรือ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) โดยมีหลักการทำงานดังนี้ก่อนที่สถานีงานของผู้ใช้จะส่งข้อมูลออกไปยังเครือข่าย จะต้องมีการแจ้งออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบดูว่ามีสัญญาณพาหะของผู้ใช้รายอื่นอยู่ในสายหรือไม่ เมื่อไม่พบสัญญาณของผู้ใช้อื่น จึงจะเริ่มส่งข้อมูลออกไปได้ หากตรวจพบสัญญาณพาหะของผู้ใช้รายอื่นอยู่ จะต้องรอจนกว่าสายจะว่างถึงจะส่งข้อมูลได้ ในกรณีที่เกิดปัญหาในการตรวจสอบสัญญาณพาหะ ซึ่งอาจเนื่องมาจากระยะทางของสถานีงานอยู่ห่างกันมาก อาจจะเกิดการชนกันของข้อมูลขึ้นได้ ในกรณีนี้ให้ทั้งทุกๆ สถานีหยุดการส่งข้อมูลขณะนั้น แต่ละสถานีจะทำการสุ่มช่วงระยะเวลาในการรอ เพื่อทำการส่งข้อมูลออกไปใหม่เพื่อไม่ให้มีการชนกันเกิดขึ้นอีก หากยังมีเหตุการณ์ชนกันเกิดขึ้นอีก ก็จะต้องหยุดรอโดยเพิ่มช่วงระยะเวลาในการสุ่มเป็นสองเท่าเพื่อให้ลดโอกาสการชนกันลงและส่งข้อมูลออกไปใหม่ และทำซ้ำเช่นนี้ จนกว่าข้อมูลจะถูกส่งออกไปได้อย่างสมบูรณ์แม้ว่าระบบ CSMA/CD ดูเหมือนจะเป็นวิธีจัดระเบียบการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายที่ไม่เรียบร้อยนัก แต่ก็ทำงานได้ผลเป็นอย่างดี แต่เมื่อมีจำนวนโหนดบนเครือข่ายมากขึ้น ก็จะทำให้ความน่าจะเป็นในการปะทะกันของ ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เครือข่ายทำงานช้าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระบบเครือข่าย Ethernet ยังสามารถแบ่งประเภทได้อีก ตามความเร็วและชนิดของสายเคเบิล ดังนี้

IEEE 802.3 10Base5(Thick Ethernet)
เป็นระบบเครือข่ายแบบบัส ใช้สายโคแอ็กเชียลอย่างหนา (3/8 นิ้ว) สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางสูงสุดไม่เกิน 500 เมตร และเนื่องจากสายโคแอ็กเชียลอย่างหนาสามารถนำสัญญาณไปได้ไกลกว่าจึงมักถูกใช้เป็นแบคโบน (Backbone) ของระบบเครือข่าย

IEEE 802.3 10Base2(Thin Ethernet)
เป็นระบบเครือข่ายแบบบัส ใช้สายโคแอ็กเชียลอย่างบาง (3/16 นิ้ว) สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่าแบบแรกและราคาต่ำกว่า สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางสูงสุดไม่เกิน 200 เมตร

IEEE 802.3 10BaseT(Twisted-pair Ethernet)
เป็นระบบที่จัดการเชื่อมต่อโหนดต่างๆ เข้ากับ Hub เป็นรูปแบบดาว ใช้สายคู่พันเกลียวโดยอาจเป็นแบบไม่มีสิ่งห่อหุ้ม(Unshielded Twisted-pair) หรือแบบมีสิ่งห่อหุ้ม (Shielded Twisted-pair)ก็ได้ มีหัวเชื่อมต่อเป็นแบบ RJ-45 มีลักษณะคล้ายปลั๊กโทรศัพท์ สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีความยาวของสายระหว่างสถานีงานกับ Hub ไม่เกิน 100 เมตร

IEEE 802.3u 100BaseX (Fast Ethernet)
มีระบบการเชื่อมต่อแบบดาว สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาทีแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่1. 100BaseT4 ใช้สายคู่พันเกลียวจำนวน 4 คู่2. 100BaseTX ใช้สายคู่พันเกลียวจำนวน 2 คู่3. 100BaseFX ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง

IEEE 802.4: Token Bus
ได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายแบบบัสที่ตอบสนองความต้องการ คือไม่ต้องการให้มีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเลย โดยจะทำงานด้วยการส่งแพ็กเกตข้อมูลที่เรียกว่าโทเคน (Token) วนเป็นวงแหวนไปตามสถานีงานต่างๆ บนเครือข่าย เมื่อโทเคนไปถึงสถานีงานปลายทางก็จะมีการคัดลอกข้อมูลขึ้นมา จากนั้นก็จะส่ง ข้อมูลแจ้งกลับไปยังสถานีงานต้นทางว่าได้รับแล้วผ่านทางโทเคนเดิม ระบบเครือข่ายจะต้องสร้างตารางของตำแหน่งที่อยู่สำหรับสถานีงานทั้งหมดขึ้น ซึงจะเรียงตามลำดับตามลำดับของสถานีงานที่สามารถรับโทเคนไปได้ ในกรณีที่มีสถานีงานใดต้องการติดต่อกับระบบเครือข่ายสูงเป็นพิเศษ นั่นก็คือต้องการได้รับโทเคนถี่ขึ้นเป็นพิเศษ ก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ตำแหน่งที่อยู่ของสถานีนั้นๆ ไว้ในตารางให้มากขึ้น รูปที่ 5 เส้นทางการเดินทางของโทเคนบนระบบเครือข่าย Token Bus ข้อด้อยของโทเคนบัสคือความจำกัดในแง่ของระยะทาง และข้อจำกัดในเรื่องจำนวนของสถานีงานใหม่ที่จะสามารถเพิ่มลงไปในบัส ทั้งนี้เพราะทุกๆ สถานีงานใหม่ที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงความเพี้ยนของสัญญาณโดยรวมที่จะเกิดมากขึ้น

IEEE 802.5: Token Ring
มาตรฐานนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้โทโปโลยีรูปวงแหวน โดยใช้โทเคนเป็นตัวนำข้อมูลจากสถานีงานหนึ่งไปยังอีกสถานีงานหนึ่ง เมื่อสถานีปลายทางได้รับโทเคน และทำการคัดลอกข้อมูล เสร็จแล้ว ก็จะทำการส่งโทเคนกลับไปยังสถานีต้นทางเดิมซึ่งจะต้องทำการถอดเอาข้อมูลออก และจึงปล่อยโทเคนไปให้สถานีงานถัดไป สถานีงานแต่ละเครื่องที่ได้รับโทเคนไปจะทำการตรวจสอบดูว่าตำแหน่งที่อยู่ที่กำหนดในโทเคนนั้น เป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าเป็นของตนก็จะทำการคัดลอกข้อมูลไว้จากนั้นจะทำการทวนสัญญาณให้แรงขึ้นพร้อมกับส่ง โทเคนนั้นกลับไป แต่ถ้าตำแหน่งที่อยู่ไม่ใช้ตำแหน่งของตน ก็จะทำการทวนสัญญาณให้แรงขึ้นและปล่อยโทเคนนั้นผ่านไป ลักษณะเด่นของ Token Ring เมื่อเทียบกับ Token Bus ก็คือความสามารถที่รองรับระยะทางได้ไกลมากกว่า โดยไม่เกิดการสูญเสียของสัญญาณระหว่างทาง ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละสถานีงานมีการทวนสัญญาณซ้ำนั้นเอง ส่วนข้อด้อยที่สำคัญคือถ้าหากมีสถานีงานใดเสียหายหรือทำงานผิดปกติ ก็อาจส่งผลร้ายแรงให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้ นอกจากนี้ในการติดตั้งระบบสายสัญญาณของระบบนี้ ยังมีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองมากกว่าแบบ Token Busรูปที่ 6 ลักษณะการเชื่อมต่อโดยใช้โทโปโลยีแบบวงแหวนของระบบเครือข่าย Token

IEEE 802.9: Isochronous Networks
เป็นการรวมเทคโนโลยี ISDN (Integrated Services Digital Network) กับเทคโนโลยี LAN เข้าด้วยกัน Isochronous LAN อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ISLAN (Integrated Services LAN) โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำให้ระบบเครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลประเภทมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อมูลที่ประกอบด้วยสัญญาณเสียง สัญญาณภาพ จำเป็นต้องได้รับการจัดส่งอย่างราบรื่นในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น สัญญาณภาพจะต้องได้รับการจัดส่งไปด้วยจำนวนเฟรมที่แน่นอนในเวลา 1 วินาที ถ้าหากการจัดส่งสัญญาณถูกขัดขวาง ข้อมูลก็จะถูกบิดเบือนไปทำให้ไม่สามารถเห็นเป็นภาพได้ ส่วนสัญญาณเสียงก็เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ทั้งสัญญาณภาพ (Video) และสัญญาณเสียง (Audio) จะต้องขึ้นกับช่วงเวลา และระบบเครือข่ายที่สนับสนุนความต้องการนี้ก็คือ Isochronous Networks นั่นเอง

IEEE 802.11: Wireless Network
เป็นการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่ายไร้สายที่เทียบได้กับระบบเครือข่าย Ethernet แต่จะใช้เทคนิคในการเข้าถึงระบบเครือข่ายด้วยวิธี CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access with Collision Avoidance) ซึ่งวิธีการนี้ต่างจากวิธี CSMA/CD คือ ด้วยวิธี CSMA/CD ที่โหนดต่างๆ จะต้องมีการเฝ้าฟังสื่อกลาง ในการนำสัญญาณ และจะทำการส่งได้ก็ต่อเมื่อสายสัญญาณว่าง แต่สำหรับ CSMA/CA นั้นโหนดต่างๆ จะต้องส่ง ข่าวสารสั้นๆ ที่เรียกว่า RTS (Request To Send) ซึ่งจะระบุผู้รับเป้าหมายไว้ ขณะเดียวกันก็จะเตือนโหนดทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงให้หยุดรอชั่วขณะหนึ่ง ส่วนทางผู้รับจะส่งสัญญาณ CTS (Clear To Send) กลับไปยังโหนดที่ต้องการส่งข้อมูล เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นจึงจะมีการส่งข้อมูลจริง เมื่อผู้รับได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว ก็จะส่งสัญญาณตอบรับ ACK (Acknowledge) กลับไป เป็นอันจบกระบวนการสื่อสาร สื่อที่ใช้ในการส่งสัญญาณของระบบนี้มีสองประเภทคือ ผ่านทางคลื่นแสงอินฟราเรด ซึ่งจะใช้ได้ภายในระยะทาง 33 เมตร (100 ฟุต) และผ่านทางคลื่นวิทยุ ซึ่งจะออกอากาศในย่านความถี่ 2.4 GHz ระบบ Wireless LAN นี้จะมีประโยชน์ในสถานการซึ่ง โหนดต่างๆ ต้องการอิสระในการเคลื่อนย้าย เช่นในโรงพยาบาล หรือในห้องรับรองขนาดใหญ่ เป็นต้น

MESH

MESH

MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

STAR

STAR

STAR เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี
การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย
เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ